วัดพระนั่งดิน
พระเจ้านั่งดิน
วัดพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา
ที่มา: http://www.hugchiangkham.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-1/
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช ๑,๒๑๓ ปีระกา เดือน ๖วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหารจนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา ๑ เดือนกับอีก ๗ วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้ไม่ได้ประทับฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆทั่วไป มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดิน
วัดนันตาราม
ที่มา: http://ontravel.exteen.com/20110626/entry-2
ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขึ้น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน ชาวไทยใหญ่ออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิสดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทองพระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ อัญเชิญมาจากวัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์
พระธาตุดอยคำ
ที่มา:http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B3-1/
พระธาตุดอยคำ อยู่ที่วัดพระธาตุดอยคำ ต.เจดีย์คำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เหตุที่ชื่อนี้ เพราะดอยนี้มีทองคำเต็มไปหมด จึงเรียกชื่อว่า “พระธาตุดอยคำ” เมื่อสร้างเสร็จเรียกชื่อว่า “พระศรีมหาธาตุดอยคำ”
น้ำตกภูซาง
ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/~b5310101551/phusang%20waterwall.html
ตั้งอยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำตลอดปี สูง ๒๕ เมตร เป็นน้ำตกที่เป็นน้ำอุ่น ๓๓ องศาเซลเซียส น้ำใส ไม่มีกลิ่นของกำมะถัน น้ำตกนี้ตั้งอยู่ริมถนนอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ๓๐๐ เมตร
ถ้ำผาแดง
ที่มา: http://www.gpsteawthai.com/index.php?topic=1454.0
ตั้งอยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลึก ๔๕๐ เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม อยู่ห่างจากอุทยานฯ ๔๘ กิโลเมตร
ถ้ำหลวง
ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=shiryu&month=01-2013&date=05&group=7&gblog=17
ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลักษณะถ้ำกว้างแต่ไม่ลึก ประมาณ ๒๐๐เมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ๒ (ห้วยสา) ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูซาง ๕๐๐ เมตร และห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซาง ๓๒ กิโลเมตร การเดินเข้าชมถ้ำต้องปีนเขา และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง
ที่มา: http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2/
ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีน้ำตก ภายในมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เคยเป็นที่ซ่อนของ ผกค. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานฯ มี ๓ เส้นทาง ระยะทาง ๑,๔๐๐ เมตร (เส้นห้วยเมี่ยง ) ระยะทาง ๑,๗๐๐ เมตร (เส้นน้ำตกภูซาง) และระยะทาง ๒,๔๐๐ เมตร (เส้นห้วยสา) แต่ละเส้นทางใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง จะมีป้ายสื่อความหมายสามารถเดินเองได้
อนุสรณ์ผู้เสียสละ
อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ ตามทางหลวง 1021 ไปประมาณ 2 กม. เป็นอนุสรณ์สถานที่ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตย นพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ
ที่มา:http://place.thai-tour.com/phayao/chiangkham
ศูนย์วัฒนธรรมไทนลื้อ
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตรกม. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขา และลุ่มแม่น้ำอันเป็น บริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า "แม่น้ำของ" ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้า เหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น
ที่มา:http://place.thai-tour.com/phayao/chiangkham
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น