วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หน้าแรก

@CHIANGKHAM

       เมืองแห่งธรรมะ     มีพระนั่งดิน
ถิ่นทอน้ำไหล           ผ้าไทลื้อ
     น้ำตกเลื่องลือ          คะแนงน้ำมิน
     ป่าไม้พื้นดิน            อุดมสมบูรณ์ 




ภาพมุมสูง >>> เมืองเชียงคำ




ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=vFXQQsQU9XE

ประวัติและความเป็นมา

ความเป็นมาของอำเภอเชียงคำปรากฏในรูปแบบตำนาน ตำนานในสมัยพุทธกาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
ตามตำนานพระธาตุดอยคำ ฉบับวัดหนองร่มเย็น เมืองเชียงคำมีชื่อเดิมว่าเชียงชะราว ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านคุ้มหมู่ ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ พระยาผู้ปกครองเมืองได้สร้างพระธาตุไว้บนดอยนอกเมืองเพื่อล้างบาป ต่อมามีผู้พบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ในลำธารหลังดอย ดอยนั้นได้ชื่อว่า ดอยคำ” พระธาตุบนดอยก็ชื่อว่าพระธาตุดอยคำ” เมืองเชียงชะราวก็เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเชียงคำ
แต่ตำนานพระเจ้านั่งดิน พญาผู้สร้างเมืองชื่อว่า พญาคำแดง” และเมืองนั้นชื่อ พุทธรส” ประชาชนชาวเมืองมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีนามว่า พระเจ้านั่งดิน” พระพุทธเจ้าทำนายว่า สืบไปภายหน้าเมืองจะเจริญรุ่งเรือง และอุดมไปด้วยสินทรัพย์และจะได้ชื่อว่า เมืองเชียงคำ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ประเทศไทยจัดระบบการปกครองแผ่นดินส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครั้งนั้นอำเภอเชียงคำอยู่ในแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายอยู่ด้วย) พื้นที่ในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมีเจ้าสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำแขวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ วัดพระแก้ว บ้านเวียง ม.ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ต่อมาทางราชการ ได้ยุบและปรับปรุงแขวงน้ำลาว โดยจัดเป็นบริเวณน่านเหนือ มีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอเทิง และบางส่วนของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย
เมื่อปี พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวง ตำแหน่งเจ้าเมือง ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเหมือนกันทั่วประเทศ จัดตั้งจังหวัดเชียงราย แขวงน้ำลาวถูกยุบและแยกเป็นเมืองเทิง และเมืองเชียงคำ เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอเชียงคำเป็นคนแรก
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2520ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น แบ่งเขตการปกครองจากจังหวัดเชียงราย โดยโอนอำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ รวม อำเภอ จัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงคำเป็น กิ่งอำเภอภูซาง ประกอบด้วย ตำบล คือ ตำบลสบบง ตำบลภูซาง ตำบลเชียงแรง ตำบลทุ่งกล้วยและตำบลป่าสัก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอำเภอภูซาง ขึ้นเป็น อำเภอภูซาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ กันยายน 2550

สถานที่ท่องเที่ยว


วัดพระนั่งดิน

พระเจ้านั่งดิน
วัดพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ที่มา: http://www.hugchiangkham.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-1/

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช ๑,๒๑๓ ปีระกา เดือน ๖วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหารจนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา ๑ เดือนกับอีก ๗ วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้ไม่ได้ประทับฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆทั่วไป มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดิน



วัดนันตาราม

ที่มา: http://ontravel.exteen.com/20110626/entry-2

ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขึ้น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ   สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน   ชาวไทยใหญ่ออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิสดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทองพระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ อัญเชิญมาจากวัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์


พระธาตุดอยคำ

ที่มา:http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B3-1/

พระธาตุดอยคำ อยู่ที่วัดพระธาตุดอยคำ ต.เจดีย์คำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เหตุที่ชื่อนี้ เพราะดอยนี้มีทองคำเต็มไปหมด จึงเรียกชื่อว่า “พระธาตุดอยคำ” เมื่อสร้างเสร็จเรียกชื่อว่า “พระศรีมหาธาตุดอยคำ”


น้ำตกภูซาง 

ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/~b5310101551/phusang%20waterwall.html

ตั้งอยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง  อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำตลอดปี สูง ๒๕ เมตร เป็นน้ำตกที่เป็นน้ำอุ่น ๓๓ องศาเซลเซียส น้ำใส ไม่มีกลิ่นของกำมะถัน น้ำตกนี้ตั้งอยู่ริมถนนอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ๓๐๐ เมตร


ถ้ำผาแดง

ที่มา: http://www.gpsteawthai.com/index.php?topic=1454.0

ตั้งอยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง  อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา  เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลึก ๔๕๐ เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม อยู่ห่างจากอุทยานฯ ๔๘ กิโลเมตร


ถ้ำหลวง

ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=shiryu&month=01-2013&date=05&group=7&gblog=17

ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา  เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลักษณะถ้ำกว้างแต่ไม่ลึก ประมาณ ๒๐๐เมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ๒ (ห้วยสา) ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูซาง ๕๐๐ เมตร และห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซาง ๓๒ กิโลเมตร การเดินเข้าชมถ้ำต้องปีนเขา และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง


ถ้ำน้ำดัง


ที่มา: http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2/

ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีน้ำตก ภายในมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เคยเป็นที่ซ่อนของ ผกค. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ  อุทยานฯ มี ๓ เส้นทาง ระยะทาง ๑,๔๐๐ เมตร (เส้นห้วยเมี่ยง ) ระยะทาง ๑,๗๐๐ เมตร (เส้นน้ำตกภูซาง) และระยะทาง ๒,๔๐๐ เมตร (เส้นห้วยสา) แต่ละเส้นทางใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง จะมีป้ายสื่อความหมายสามารถเดินเองได้


อนุสรณ์ผู้เสียสละ


อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ ตามทางหลวง 1021 ไปประมาณ 2 กม. เป็นอนุสรณ์สถานที่ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตย นพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ
ที่มา:http://place.thai-tour.com/phayao/chiangkham



ศูนย์วัฒนธรรมไทนลื้อ


ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตรกม.  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขา และลุ่มแม่น้ำอันเป็น บริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า "แม่น้ำของ" ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้า เหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น
ที่มา:http://place.thai-tour.com/phayao/chiangkham

อาหาร

 แอ่งแถะ


แอ่งแถะ    เป็นอาหารของชาวไทลื้อ ทำมาจากใบพืชชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นเป็นเถาเป็นเครือ หัวอยู่ใต้ดิน ใบมีรูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ใต้ใบมีขนอ่อนๆ จะเจริญเติบโตในฤดูฝน ถึงต้นฤดูหนาว  แอ่งแถะ      เป็นพืชสมุนไพรแก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาระบายได้ดีแอ่งแถะนำมาเป็นอาหารโดยการนำส่วนใบมาตำผสมมน้ำเล็กน้อยแล้วคั้นกรองเอากากทิ้ง นำมาใส่ภาชนะทิ้งไว้หนึ่งคืนก็จะจับตัวกันเป็นก้อนคล้ายเยลลี่เมื่อจะ รับประทานก็นำมาปรุงใส่พริกป่น เกลือป่น ปลาแห้งป่น ถั่วลิสงป่น ปรุงให้มีรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาว หรือรมะกอกสุก แอ่งแถะเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวไทลื้อ รับประทานเป็นกับข้าว หรือเป็นอาหารว่างก็ได้

น้ำปู

น้ำปู หรือน้ำปู๋  เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการถนอมอาหารที่เก็บไว้กินได้นาน ทำมาจากปูนา มีลักษณะเป็นครีมข้น ๆ เหนียวๆ สีดำคล้ำ  นำมาปรุงเป็นอาหาร โดยการปิ้งพริกหนุ่ม โขลกรวมกับกระเทียม และตะไคร้ แล้วนำน้ำปูลงคลุกเคล้า  เรียกว่า น้ำพริกน้ำปู” ใช้จิ้มหน่อไม้หรือผักต่าง ๆ  และยังนำมาใส่เพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทต่างๆ ได้   เช่นใช้ปรุงแกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ ส้ามะเขือ ตำเตา ตำมะม่วง           ตำส้มโอ ตำมะขาม น้ำปูเป็นอาหารเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทลื้อ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถถนอมอาหาร    เก็บไว้รับประทานได้นานนับปี     โดยไม่ใช้สารกันบูด

โถ่โอ่


 คำว่า โถ่ ภาษาไทลื้อหมายถึง ถั่ว และคำว่า โอ่ หมายถึง เหม็นหรือเน่า สรุปแล้วโถ่โอ่ ก็คือ ถั่วเน่าหรือถั่วเหม็น  แต่จริงแล้วเมื่อนำมาปรุงอาหารจะหอมอร่อย โถ่โอ่หรือถั่วเน่า ทำมาจากถั่วเหลืองต้มสุก แล้วนำไปหมักในภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ที่รองก้นภาชนะหรือห่อด้วยใบของต้นเดื่อปล่อง         ปิดให้มิดแล้วทิ้งไว้ประมาณ ๒ – ๓วัน จนถั่วมีกลิ่นหรือราสีเขียวจับบริเวณรอบๆ ภาชนะ จึงนำมาทำเป็นอาหาร เช่น เกียวโถ่โอ่ คือนำมาบดใส่เครื่องปรุง เช่น พริกแห้งกระเทียม ขิง เกลือ แล้วนำมาผัดให้หอม ใส่ไข่ลงไป สุกแล้วรับประทานกับข้าวร้อนๆ จะอร่อยมาก
นอกจากนี้ยังมีโถ่โอ่ที่ทำเป็นแผ่นตากแห้งอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการถนอมอาหารไว้กินนานๆ มีวิธีการทำคือนำถั่วเน่าที่หมักได้ที่แล้วมาบดให้ละเอียด แล้วโขลกพริกแห้ง กระเทียม ขิง และเกลือ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน กับถั่วเน่าบด จากนั้นนำมาทำให้เป็นแผ่นแบนๆ ให้ตรงกลางหนากว่าเล็กน้อยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง    –๒ นิ้ว แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน เมื่อจะรับประทานก็นำมาทอดหรือปิ้งให้กรอบ

  น้ำผัก


         น้ำผัก       เป็นอาหารของชาวไทลื้อ ทำมาจากดอกผักกาดจ้อน ตัดในขณะที่ต้นผักกาดออกดอกและกำลังบาน จะได้ดอกผักกาดที่ดี แล้วนำไปบดให้ละเอียดนำมาหมักทั้งกากผสมน้ำ เกลือ   และข้าวเหนียวเล็กน้อย ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 คืน จนได้รสเปรี้ยว จากนั้นกรองเอากากทิ้ง นำส่วนที่เหลือไปเคี่ยวจนแห้ง จะได้ น้ำผัก” มีสีเขียวคล้ำ มีรสเปรี้ยว หากนำไปตากให้แห้งจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อต้องการรับประทานก็นำมาทำเป็นน้ำพริกน้ำผัก

ส้มผักกาด

 ส้มผักกาด เป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งของชาวไทลื้อ ซึ่งเป็นการแปรรูปอาหารโดยการนำผักกาด นำมานวดกับเกลือจนได้ที่ ใส่ข้าวเหนียวเล็กน้อยหมักทิ้งไว้ประมาณ หนึ่งถึงสองคืน จนมีรสเปรี้ยว            “ส้มผักกาด สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายวิธี เช่น รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกก็อร่อย หรือโขลกพริกหนุ่มปิ้ง กระเทียม แล้วนำไปผสมกับส้มผักกาด โดยทุบขิงใส่ลงไปเล็กน้อย และซอยมะเขือเป็นแผ่นบางๆ ใส่ลงไปด้วย ก็จะได้กับข้าวอีกอย่างหนึ่ง ชาวไทลื้อเรียกว่า แยมซุ้มผักกาด รับประทานกับปลาปิ้ง หมูปิ้ง แคบหมู หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ก็เข้ากันได้ดี

ขนมปาด


 ขนมปาด มีลักษณะคล้ายกับขนมเปียกปูน แต่สีน้ำตาล รสหวานมัน มีกลิ่นหอม ชาวไทลื้อนนิยมรับประทานกับข้าวแคบ ขนมปาดทำจากแป้งข้าวเหนียวนำมากวนกับน้ำตาลผสมน้ำอ้อย และกะทิ ส่วนใหญ่นิยมทำขนมปาดในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานฉลองต่างๆ จึงต้องกวนกันเป็นหม้อใหญ่ๆ โดยต้องใช้คนช่วยกันกวนหลายคน จนกว่าแป้งจะเหนียวได้ที่นำมาเทใส่ถาด ทิ้งไว้ให้แข็งตัว แล้วตัดเป็นชิ้นๆ รูปขนมเปียกปูน

ข้าวแคบ

 “ข้าวแคบ” เป็นขนมหรืออาหารว่างของชาวไทลื้อ มีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบ มีรสเค็มๆ อย่าง          ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวแคบ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือที่เข้าใจกันดี แต่คนท้องถิ่นอื่นอาจไม่คุ้นเคย “ข้าวแคบ” คือ ข้าวเกรียบธรรมดา เป็นของกินชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวจ้าว หรือแป้งข้าวเหนียว ทำเป็นแผ่นตากให้แห้ง เมื่อจะรับประทานก็นำมาย่างไฟอ่อนๆ     หรือทอดเหมือนข้าวเกรียบก็จะได้ข้าวแคบที่มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป    ชาวไทลื้อนิยมรับประทาน     ข้าวแคบทอดกับขนมปาด

                   ข้าวควบ                                        

 ข้าวควบ คือ “ข้าวเกรียบใส่น้ำตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว”   ข้าวควบได้มาจากการนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วตำให้เมล็ดข้าวแตกละเอียด ผสมกับน้ำอ้อย หรือน้ำตาล ใส่เกลือเล็กน้อย นวดให้เข้ากันแลแล้วปั้นเป็นก้อนประมาณเท่ามะนาว แล้วใช้ไม้กลมคลึงให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วตากให้แห้ง เมื่อจะรับประทานก็นำมาผิงไฟอ่อนๆ ให้ข้าวควบพองตัวเป็นแผ่นใหญ่มีสีเหลืองน่ารับประทาน “ข้าวควบ” เป็นอาหารว่างที่     ชาวไทลื้อนิยมรับประทานกันมาก ลักษณะคล้ายขนมทองม้วน รสหวานกรอบ แต่พอง และแผ่นใหญ่กว่า
ที่มา:https://chiangkhamdistrict.wordpress.com/2013/10/16/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%89/